คุณของพระสงฆ์
คอลัมน์ ศาลาวัด
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้กระทำตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สุขตามสมควรแก่การปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นยั่งยืนนานมาตราบได้เท่าทุกวันนี้
เมื่อจำแนกตามบทสังฆานุสติ คือ บทสวดระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี 9 ประการ คือ
1.สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระศาสดา ไม่ปฏิบัติเป็นปรปักษ์ขัดต่อคำสอนของพระศาสดา
2.อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติจริงๆ ไม่ปฏิบัติลวงโลก ประพฤติปฏิบัติตรงๆ ต่อพระศาสดาและเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน
3.ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติในทางอันจะให้เกิดความรู้ ปฏิบัติเพื่อธรรมที่ควรรู้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติ เพื่อได้ความรู้ธรรม
4.สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติน่านับถือ อันสมควรได้รับสามีจิกรรม คือ การแสดงความนอบน้อมเคารพนับถือเป็นต้น จากเหล่าคนทุกจำพวก
5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรของคำนับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับวัตถุที่เขานำมาบูชาที่เรียกว่า อาหุนะ (เครื่องสักการบูชา)
6.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของต้อนรับที่เรียกว่า ปาหุนะ (ของต้อนรับแขก) ที่เขาจัดไว้อย่างดี
7.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรของทำบุญ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของทำบุญที่เรียกว่า ทักขิรา (หรือทักษิณา หมายถึงเครื่องไทยธรรม) มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
8.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรทำอัญชลี หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเมื่อผู้ใดผู้หนึ่งนำเครื่องสักการะไปถวายถึงที่อยู่ ก็สามารถทำความเลื่อมใสให้เกิดได้ โดยที่ผู้นั้นไม่ต้องมาเสียใจในภายหลังว่าไม่สมควรคำนับกราบไหว้
และเมื่อท่านมาถึงถิ่นที่อาศัยของผู้ใด ก็เป็นแขกที่น่าต้อนรับด้วยความยินดีของผู้นั้น เพราะเป็นผู้มาดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งยกมือขึ้นไหว้ท่าน ท่านก็มีความยินดีพร้อมที่ทุกคนพอจะไหว้ได้โดยไม่ต้องกระดากอาย
9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญที่ยอดเยี่ยมของชาวโลก หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์เพราะปฏิบัติดี ทักษิณาทานที่บริจาคแด่พระสงฆ์จึงมีผลานิสงส์มาก เปรียบเหมือนแหล่งที่นา ซึ่งมีดินดีและไถแล้ว พืชที่หว่านหรือที่ปลูกลงไป ย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็นนาบุญ ที่บำเพ็ญบุญอย่างยอดเยี่ยมดียิ่งของประชาชนชาวโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
สมบัติ จากข่าวสด
สมบัติ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com
สมบัติ คือ ความสมบูรณ์แห่งผลสำเร็จที่ให้ได้สมความปรารถนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์สมบัติ
2. สวรรค์สมบัติ
3. นิพพานสมบัติ
ประการที่ 1 มนุษย์สมบัติ ได้แก่ การมีทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ การยกย่องและความสุขกายสบายใจ คนผู้ที่จะได้มนุษย์สมบัตินี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ หมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต ในการศึกษาเล่าเรียน ในธุระหน้าที่การงานของตนเอง 2. ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความหมั่น พยายามไม่ให้เป็นอันตราย อีกทั้งรักษาการงานที่ได้ทำไว้ไม่ให้เสื่อมเสียไป 3. ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ การรู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน เลือกคบหา เสวนากับคนที่สามารถแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ 4. ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร คือ รู้จักเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคือง ไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
มีเรื่องเล่าในอดีตเป็นตัวอย่างว่า คนรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ทำการค้าขายครั้งแรกด้วยการลงทุนด้วยหนูตายเพียงตัวเดียว ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย คือ ครั้งแรก เขาขายหนูตายนั้นแล้วได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จึงนำเงินนั้นไปซื้อดอกไม้มาขาย นำกำไรที่ขายดอกไม้ได้ไปซื้อไม้แล้วนำไปขายให้กับคนเผาภาชนะดิน นำผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอีก ไปซื้อหญ้าแล้วนำไปขายให้คนเลี้ยงม้า ได้เงินมาแล้วก็นำไปเก็บรักษาไว้ ต่อมาได้ทำการค้าขายทางเรือกับพวกพ่อค้า ได้เงินทองมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาระลึกถึงเศรษฐีที่เคยมีอุปการะแก่ตนมาก่อน ด้วยความกตัญญู จึงนำทรัพย์สินเงินทองครึ่งหนึ่งที่ตนหามาได้มอบให้แก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีคิดว่า คนที่ฉลาด ขยันหมั่นเพียรเช่นนี้ ไม่สมควรที่จะเป็นคนรับใช้ของเรา จึงได้ยกธิดาคนหนึ่งให้และมอบเงินทองให้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว เขาก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐีต่อไป
ประการ ที่ 2 สวรรค์สมบัติ ได้แก่ สมบัติในสวรรค์ หรือทิพยสมบัติ คือ สมบัติที่มีความสุขกายสบายใจ อันละเอียด ประณีต วิจิตรตระการตากว่ามนุษย์สมบัติมากมาย ซึ่งผู้ที่จะประสบสวรรค์สมบัติได้นั้น จะต้องประกอบด้วยความไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2. ถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
3. ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน คือ การเสียสละแบ่งปัน
4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักความดี ความชั่ว เป็นต้น
มีเรื่องเล่าเป็นอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งว่า อุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่านันทิยะ เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ได้ให้ทาน รักษาศีล และทำอุโบสถกรรมเป็นประจำ ต่อมาได้สร้างศาลาจัตุรมุขขึ้นหลังหนึ่ง ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่สุดแห่งการทำอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า วิมานจัตุรมุขก็ได้ผุดขึ้นในเทวโลกเพื่อต้อนรับอุบาสกนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้ไปเยี่ยมเทวโลก เห็นวิมานนั้นว่างเปล่า ไม่มีเทพบุตรหรือเทพธิดาประจำอยู่ จึงไต่ถามกับเทพบุตรในวิมานใกล้เคียงก็ทราบว่า เป็นวิมานที่ผุดขึ้นเพื่อต้อนรับนันทิยอุบาสก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ พระมหาโมคคัลลานะจึงนำข่าวมาแจ้งแก่นันทิยอุบาสก เมื่อเขาได้ฟังแล้วก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างมาก ได้สละทรัพย์บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในวิมานนั้น
ประการที่ 3 นิพพานสมบัติ ได้แก่ สมบัติคือพระนิพพาน คือการดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง คนผู้ถึงพระนิพพาน ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งไปกว่า สมตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ซึ่งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพานนั้น ก็ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ
1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญจิตตภาวนา
ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาสมบัติ คือ ความถึงพร้อมทั้ง 3 ประการนี้ ควรที่ปฏิบัติตน ประพฤติตามหลักธรรมดังที่กล่าวมา อันจักทำให้ได้รับสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง สมตามความปรารถนาแล
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com
สมบัติ คือ ความสมบูรณ์แห่งผลสำเร็จที่ให้ได้สมความปรารถนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์สมบัติ
2. สวรรค์สมบัติ
3. นิพพานสมบัติ
ประการที่ 1 มนุษย์สมบัติ ได้แก่ การมีทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ การยกย่องและความสุขกายสบายใจ คนผู้ที่จะได้มนุษย์สมบัตินี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ หมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต ในการศึกษาเล่าเรียน ในธุระหน้าที่การงานของตนเอง 2. ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความหมั่น พยายามไม่ให้เป็นอันตราย อีกทั้งรักษาการงานที่ได้ทำไว้ไม่ให้เสื่อมเสียไป 3. ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ การรู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน เลือกคบหา เสวนากับคนที่สามารถแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ 4. ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร คือ รู้จักเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคือง ไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
มีเรื่องเล่าในอดีตเป็นตัวอย่างว่า คนรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ทำการค้าขายครั้งแรกด้วยการลงทุนด้วยหนูตายเพียงตัวเดียว ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย คือ ครั้งแรก เขาขายหนูตายนั้นแล้วได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จึงนำเงินนั้นไปซื้อดอกไม้มาขาย นำกำไรที่ขายดอกไม้ได้ไปซื้อไม้แล้วนำไปขายให้กับคนเผาภาชนะดิน นำผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอีก ไปซื้อหญ้าแล้วนำไปขายให้คนเลี้ยงม้า ได้เงินมาแล้วก็นำไปเก็บรักษาไว้ ต่อมาได้ทำการค้าขายทางเรือกับพวกพ่อค้า ได้เงินทองมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาระลึกถึงเศรษฐีที่เคยมีอุปการะแก่ตนมาก่อน ด้วยความกตัญญู จึงนำทรัพย์สินเงินทองครึ่งหนึ่งที่ตนหามาได้มอบให้แก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีคิดว่า คนที่ฉลาด ขยันหมั่นเพียรเช่นนี้ ไม่สมควรที่จะเป็นคนรับใช้ของเรา จึงได้ยกธิดาคนหนึ่งให้และมอบเงินทองให้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว เขาก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐีต่อไป
ประการ ที่ 2 สวรรค์สมบัติ ได้แก่ สมบัติในสวรรค์ หรือทิพยสมบัติ คือ สมบัติที่มีความสุขกายสบายใจ อันละเอียด ประณีต วิจิตรตระการตากว่ามนุษย์สมบัติมากมาย ซึ่งผู้ที่จะประสบสวรรค์สมบัติได้นั้น จะต้องประกอบด้วยความไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2. ถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
3. ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน คือ การเสียสละแบ่งปัน
4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักความดี ความชั่ว เป็นต้น
มีเรื่องเล่าเป็นอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งว่า อุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่านันทิยะ เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ได้ให้ทาน รักษาศีล และทำอุโบสถกรรมเป็นประจำ ต่อมาได้สร้างศาลาจัตุรมุขขึ้นหลังหนึ่ง ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่สุดแห่งการทำอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า วิมานจัตุรมุขก็ได้ผุดขึ้นในเทวโลกเพื่อต้อนรับอุบาสกนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้ไปเยี่ยมเทวโลก เห็นวิมานนั้นว่างเปล่า ไม่มีเทพบุตรหรือเทพธิดาประจำอยู่ จึงไต่ถามกับเทพบุตรในวิมานใกล้เคียงก็ทราบว่า เป็นวิมานที่ผุดขึ้นเพื่อต้อนรับนันทิยอุบาสก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ พระมหาโมคคัลลานะจึงนำข่าวมาแจ้งแก่นันทิยอุบาสก เมื่อเขาได้ฟังแล้วก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างมาก ได้สละทรัพย์บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในวิมานนั้น
ประการที่ 3 นิพพานสมบัติ ได้แก่ สมบัติคือพระนิพพาน คือการดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง คนผู้ถึงพระนิพพาน ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งไปกว่า สมตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ซึ่งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพานนั้น ก็ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ
1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญจิตตภาวนา
ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาสมบัติ คือ ความถึงพร้อมทั้ง 3 ประการนี้ ควรที่ปฏิบัติตน ประพฤติตามหลักธรรมดังที่กล่าวมา อันจักทำให้ได้รับสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง สมตามความปรารถนาแล
วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553
หลักธรรมนำชีวิต (ข่าวสด)
หลัก ธรรมนำชีวิต
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/ watdevaraj@hotmail.com
ใน ปัจจุบันนี้ คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นน้อมนำเอาหลักธรรมหมวดไหน หรือข้อไหนมาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ซึ่งหลักธรรมที่หลายท่านได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตนั้น ก็มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงธรรมะที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติกันแล้ว สามารถอำนวยความสุข หรือประโยชน์สุขให้ได้ในปัจจุบัน
ประโยชน์หรือความสุขในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้ประพฤติตาม ธรรมะ 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา
2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา
4. สมชีวิตา
ข้อ 1 อุฏฐานสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจ มีความรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักคิดใช้ปัญญา สอดส่องพิจารณาการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ไม่ว่าการงานนั้นๆ จะมากหรือน้อย ก็สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
ข้อ 2 อารักขสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ มีโภคทรัพย์และผลงาน ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยกำลังงานของตน และด้วยความชอบธรรม หามาได้โดยธรรม ก็ต้องรู้จักดูแล รักษา และคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล มิให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย เสื่อมหายไป
ข้อ 3 กัลยาณมิตตตา ได้แก่ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดคนในถิ่นที่อาศัย คือ อยู่อาศัยในบ้านหรือถิ่นหนตำบลใด ย่อมดำรงตน เลือกสนทนากับบุคคลในบ้านหรือถิ่นหนตำบลนั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ข้อ 4 สมชีวิตา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายรับ รายจ่าย แล้วเลี้ยงชีวิตอย่างพอเหมาะ เมื่อมีทรัพย์ก็ไม่ใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือไม่ให้ประหยัดเกินไปนัก
การที่คนเราพยายามแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียร และรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยความสุจริตนั้น จำต้องใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ให้มีความสุข บำรุงเพื่อนสนิทมิตรสหายให้มีความสุข เสียสละแบ่งปันด้วยการสงเคราะห์ญาติ หรือทำบุญให้ทานตามโอกาส
ดังนั้น ผู้ที่นำเอาหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้ มาเป็นเครื่องนำในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถที่จะอำนวยประโยชน์สุขในปัจจุบันให้เกิดขึ้นได้
ใคร ที่อยากจะให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ก็ต้องรู้จักขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ดีนักแล
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/ watdevaraj@hotmail.com
ใน ปัจจุบันนี้ คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นน้อมนำเอาหลักธรรมหมวดไหน หรือข้อไหนมาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ซึ่งหลักธรรมที่หลายท่านได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตนั้น ก็มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงธรรมะที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติกันแล้ว สามารถอำนวยความสุข หรือประโยชน์สุขให้ได้ในปัจจุบัน
ประโยชน์หรือความสุขในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้ประพฤติตาม ธรรมะ 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา
2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา
4. สมชีวิตา
ข้อ 1 อุฏฐานสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจ มีความรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักคิดใช้ปัญญา สอดส่องพิจารณาการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ไม่ว่าการงานนั้นๆ จะมากหรือน้อย ก็สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
ข้อ 2 อารักขสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ มีโภคทรัพย์และผลงาน ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยกำลังงานของตน และด้วยความชอบธรรม หามาได้โดยธรรม ก็ต้องรู้จักดูแล รักษา และคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล มิให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย เสื่อมหายไป
ข้อ 3 กัลยาณมิตตตา ได้แก่ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดคนในถิ่นที่อาศัย คือ อยู่อาศัยในบ้านหรือถิ่นหนตำบลใด ย่อมดำรงตน เลือกสนทนากับบุคคลในบ้านหรือถิ่นหนตำบลนั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ข้อ 4 สมชีวิตา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายรับ รายจ่าย แล้วเลี้ยงชีวิตอย่างพอเหมาะ เมื่อมีทรัพย์ก็ไม่ใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือไม่ให้ประหยัดเกินไปนัก
การที่คนเราพยายามแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียร และรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยความสุจริตนั้น จำต้องใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ให้มีความสุข บำรุงเพื่อนสนิทมิตรสหายให้มีความสุข เสียสละแบ่งปันด้วยการสงเคราะห์ญาติ หรือทำบุญให้ทานตามโอกาส
ดังนั้น ผู้ที่นำเอาหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้ มาเป็นเครื่องนำในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถที่จะอำนวยประโยชน์สุขในปัจจุบันให้เกิดขึ้นได้
ใคร ที่อยากจะให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ก็ต้องรู้จักขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ดีนักแล
การกรวดน้ำ (ข่าวสด)
การกรวดน้ำ
คอลัมน์ ศาลาวัด
คงเคยได้ยินบทเพลงท่อนหนึ่ง "กรวดน้ำ คว่ำขัน รักกันชาติเดียว" แสดงให้เห็นว่าการ "กรวดน้ำ" เป็นประเพณีนิยมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนไม่น้อย ไม่รู้ถึงจุดประสงค์ ไม่รู้ความหมาย และไม่รู้วิธีปฏิบัติอย่างถ่องแท้
"การกรวดน้ำ" เป็นการอุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญแล้ว แผ่ไปให้ผู้ที่ล่วงลับดับขันธ์ไป โดยใช้น้ำที่ใสสะอาดเทหลั่งลงเป็นสาย
การกรวดน้ำสามารถกระทำได้ใน งานทำบุญทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล เพราะจุดมุ่งหมายของการกรวดน้ำ คือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญไว้ในพระพุทธศาสนาแก่ผู้ล่วงลับและสรรพ สัตว์ให้ได้รับส่วนบุญกุศลนั้น
ด้วยเป็นการแสดงออกถึงน้ำใจอันกว้าง ขวาง รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คุณความดีแก่ผู้อื่น ตรงกับหลักการทำบุญที่เรียกว่า "ปัตติทานมัยบุญ" แปลว่า บุญที่เกิดจากการให้ส่วนบุญ อย่างไรก็ตาม เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลในครั้งใดๆ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วย
ซึ่งมีวิธีนิยมทำกัน คือ เริ่มต้นให้เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควรจะเป็นคนทีขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่ควรใช้กระโถนหรือภาชนะที่สกปรกเป็นอันขาด ด้วยน้ำที่กรวดนั้นเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจที่สะอาดจริงๆ
พอ พระเถระเริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำตั้งใจอุทิศส่วนกุศล ถ้านั่งอยู่กับพื้น ให้นั่งพับเพียบ โดยใช้มือขวาจับภาชนะ ใช้มือซ้ายประคอง รินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย ถ้าอยู่ที่พื้นดิน ควรหลั่งน้ำลงในที่สะอาด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ที่ไม่มีพื้นดิน ควรหาภาชนะ เช่น ถาดหรือขันน้ำมารองน้ำกรวดนั้นไว้
ขณะที่รินน้ำลงเป็นสายนั้น พึงตั้งจิตสำรวมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้ล่วงลับหรือสรรพสัตว์ ตามบทกรวดน้ำ ดังนี้
คำกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย "ขอให้ผลบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า"
คำ กรวดน้ำนี้ เป็นคำกรวดน้ำแบบสั้น ซึ่งได้แบบอย่างมาจากพระดำรัสที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงอุทิศพระราชกุศลให้แก่พวกเปรตที่เป็นอดีตพระประยูรญาติ
หรือว่า สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน "ขอปวงสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกัน ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด"
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต "ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ จงมีส่วนได้เสวยผลบุญที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญแล้วนั้นเถิด"
เมื่อกรวด เสร็จแล้ว จึงนำน้ำไปเทลงดินที่สะอาดหรือเทรดต้นไม้
คอลัมน์ ศาลาวัด
คงเคยได้ยินบทเพลงท่อนหนึ่ง "กรวดน้ำ คว่ำขัน รักกันชาติเดียว" แสดงให้เห็นว่าการ "กรวดน้ำ" เป็นประเพณีนิยมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนไม่น้อย ไม่รู้ถึงจุดประสงค์ ไม่รู้ความหมาย และไม่รู้วิธีปฏิบัติอย่างถ่องแท้
"การกรวดน้ำ" เป็นการอุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญแล้ว แผ่ไปให้ผู้ที่ล่วงลับดับขันธ์ไป โดยใช้น้ำที่ใสสะอาดเทหลั่งลงเป็นสาย
การกรวดน้ำสามารถกระทำได้ใน งานทำบุญทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล เพราะจุดมุ่งหมายของการกรวดน้ำ คือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญไว้ในพระพุทธศาสนาแก่ผู้ล่วงลับและสรรพ สัตว์ให้ได้รับส่วนบุญกุศลนั้น
ด้วยเป็นการแสดงออกถึงน้ำใจอันกว้าง ขวาง รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คุณความดีแก่ผู้อื่น ตรงกับหลักการทำบุญที่เรียกว่า "ปัตติทานมัยบุญ" แปลว่า บุญที่เกิดจากการให้ส่วนบุญ อย่างไรก็ตาม เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลในครั้งใดๆ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วย
ซึ่งมีวิธีนิยมทำกัน คือ เริ่มต้นให้เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควรจะเป็นคนทีขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่ควรใช้กระโถนหรือภาชนะที่สกปรกเป็นอันขาด ด้วยน้ำที่กรวดนั้นเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจที่สะอาดจริงๆ
พอ พระเถระเริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำตั้งใจอุทิศส่วนกุศล ถ้านั่งอยู่กับพื้น ให้นั่งพับเพียบ โดยใช้มือขวาจับภาชนะ ใช้มือซ้ายประคอง รินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย ถ้าอยู่ที่พื้นดิน ควรหลั่งน้ำลงในที่สะอาด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ที่ไม่มีพื้นดิน ควรหาภาชนะ เช่น ถาดหรือขันน้ำมารองน้ำกรวดนั้นไว้
ขณะที่รินน้ำลงเป็นสายนั้น พึงตั้งจิตสำรวมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้ล่วงลับหรือสรรพสัตว์ ตามบทกรวดน้ำ ดังนี้
คำกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย "ขอให้ผลบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า"
คำ กรวดน้ำนี้ เป็นคำกรวดน้ำแบบสั้น ซึ่งได้แบบอย่างมาจากพระดำรัสที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงอุทิศพระราชกุศลให้แก่พวกเปรตที่เป็นอดีตพระประยูรญาติ
หรือว่า สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน "ขอปวงสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกัน ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด"
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต "ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ จงมีส่วนได้เสวยผลบุญที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญแล้วนั้นเถิด"
เมื่อกรวด เสร็จแล้ว จึงนำน้ำไปเทลงดินที่สะอาดหรือเทรดต้นไม้
ควรบูชาสิ่งที่ควรบูชา
หลักการบูชาในพระ พุทธศาสนามี 2 ประเภท คือ "อามิสบูชา" กับ "ธรรมบูชา"
อามิสบูชา หมายถึงการบูชาด้วยเครื่องสักการะที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่นการถวายดอกไม้ธูปเทียน เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย การถวายเครื่องไทยธรรมหรือปัจจัย 4 เป็นการอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์
หรือ แม้การที่พุทธศาสนิกชนได้จัดสร้างถาวรวัตถุเป็นพุทธศาสนสถาน เช่น สร้างพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์ เป็นต้น
ก็นับว่า เป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสเหมือนกัน
ธรรมบูชา หมายถึง การบูชาด้วยการปฏิบัติ หรือเรียกว่า ปฏิบัติบูชา คือ การประพฤติธรรมด้วยความตระหนักเอื้อเฟื้อในพระสัทธรรมคำสอนและปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด ไม่ดื้อรั้นมีทิฏฐิมานะโดยประการใดๆ
ได้แก่ การฟังหรือศึกษาเล่าเรียนคำสั่งสอนที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
อามิสบูชา หมายถึงการบูชาด้วยเครื่องสักการะที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่นการถวายดอกไม้ธูปเทียน เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย การถวายเครื่องไทยธรรมหรือปัจจัย 4 เป็นการอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์
หรือ แม้การที่พุทธศาสนิกชนได้จัดสร้างถาวรวัตถุเป็นพุทธศาสนสถาน เช่น สร้างพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์ เป็นต้น
ก็นับว่า เป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสเหมือนกัน
ธรรมบูชา หมายถึง การบูชาด้วยการปฏิบัติ หรือเรียกว่า ปฏิบัติบูชา คือ การประพฤติธรรมด้วยความตระหนักเอื้อเฟื้อในพระสัทธรรมคำสอนและปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด ไม่ดื้อรั้นมีทิฏฐิมานะโดยประการใดๆ
ได้แก่ การฟังหรือศึกษาเล่าเรียนคำสั่งสอนที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
เทวดา - มนุษย์ (ข่าวสด)
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ข้อที่ 225 ได้พูดถึงความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเทวดากับมนุษย์ว่า บางอย่างเทวดาดีกว่ามนุษย์ บางอย่างมนุษย์ดีกว่าเทวดา เทวดาชั้นดาวดึงส์นั้นเหนือกว่ามนุษย์ 3 สถาน คือ (1) มีอายุทิพย์ (2) มีผิวพรรณทิพย์ และ (3) มีความสุขทิพย์
แต่มนุษย์ก็ดีกว่าเทวดา 3 อย่างเหมือนกัน คือ (1) มนุษย์กล้าหาญกว่า (2) มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจดีกว่า และ (3) มนุษย์มีการประพฤติพรหมจรรย์คือดำเนินวิถีชีวิตตามหลักอริยมรรค
มนุษย์โลกเป็น "ชุมทาง" สำคัญที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์
อยากไปเป็นเทวดา ก็ต้องมาสร้างความดีที่โลกมนุษย์ก่อน แม้กระทั่งไปนรก ก็เริ่มสตาร์ตจากโลกมนุษย์เช่นกัน
อยากเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงนิพพาน ก็ต้องมาสร้างสมเอาที่โลกมนุษย์นี้เท่านั้น เป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ไม่มีทางทำได้
โลกมนุษย์มีโอกาสดีอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "เป็นสุคติสำหรับเทวดาทั้งหลาย และคนที่รู้จักใช้โอกาสที่มีปรับปรุงตัวให้บริสุทธิ์จากกิเลส มีคุณธรรมสมบูรณ์เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอรหันตสาวกทั้งหลายย่อมอยู่ใน ฐานะประเสริฐสุดและสูงสุด
แต่มนุษย์ก็ดีกว่าเทวดา 3 อย่างเหมือนกัน คือ (1) มนุษย์กล้าหาญกว่า (2) มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจดีกว่า และ (3) มนุษย์มีการประพฤติพรหมจรรย์คือดำเนินวิถีชีวิตตามหลักอริยมรรค
มนุษย์โลกเป็น "ชุมทาง" สำคัญที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์
อยากไปเป็นเทวดา ก็ต้องมาสร้างความดีที่โลกมนุษย์ก่อน แม้กระทั่งไปนรก ก็เริ่มสตาร์ตจากโลกมนุษย์เช่นกัน
อยากเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงนิพพาน ก็ต้องมาสร้างสมเอาที่โลกมนุษย์นี้เท่านั้น เป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ไม่มีทางทำได้
โลกมนุษย์มีโอกาสดีอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "เป็นสุคติสำหรับเทวดาทั้งหลาย และคนที่รู้จักใช้โอกาสที่มีปรับปรุงตัวให้บริสุทธิ์จากกิเลส มีคุณธรรมสมบูรณ์เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอรหันตสาวกทั้งหลายย่อมอยู่ใน ฐานะประเสริฐสุดและสูงสุด
ตัณหา (จากข่าวสด)
"ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ ตัณหาย่อมยังบุคคลให้เกิดได้" และนอกจากจะทำบุคคลให้เกิดขึ้นมาแล้ว ยังปกคลุมหุ้มห่อมนุษย์โลก ทำให้วุ่นวาย คิดประกอบกรรมทั้งดีและชั่ว
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ทำชั่วบ้างทำดีบ้าง คนที่มีทุกข์มากมาย ประสบแต่ความเดือดร้อน ก็เพราะตัณหานี้เอง มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากดิ้นรน ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง 6 คือ รูป เสียง เป็นต้น อันเป็นทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม
2. ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อันเป็นเรื่องดีและชั่ว
3. วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เพราะมองเห็นทุกข์โทษ
แต่ถ้าอยากจะทำดี ทำประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ใคร นับได้ว่า เป็นความทะยานอยากในฝ่ายดี ไม่เรียกว่าตัณหา เรียกว่า ฉันทะ เช่นอยากจะทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข พ้นจากความทุกข์ ก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ยกย่องบูชาได้
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ทำชั่วบ้างทำดีบ้าง คนที่มีทุกข์มากมาย ประสบแต่ความเดือดร้อน ก็เพราะตัณหานี้เอง มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากดิ้นรน ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง 6 คือ รูป เสียง เป็นต้น อันเป็นทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม
2. ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อันเป็นเรื่องดีและชั่ว
3. วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เพราะมองเห็นทุกข์โทษ
แต่ถ้าอยากจะทำดี ทำประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ใคร นับได้ว่า เป็นความทะยานอยากในฝ่ายดี ไม่เรียกว่าตัณหา เรียกว่า ฉันทะ เช่นอยากจะทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข พ้นจากความทุกข์ ก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ยกย่องบูชาได้
หลัก 3 ไตร (จากข่าวสด)
เราในฐานะชาวพุทธที่ร่วมสังคมอยู่ในโลก ควรดำเนินตามหลักพระพุทธจริยาวัตร โดยนำเอาพระพุทธคุณมาใช้ เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ต้องใช้พุทธคุณให้ครบ 3 อย่าง ถ้าเราใช้ครบสามอย่างแล้ว ปัญหาของสังคม ของบ้านเมือง ของประเทศชาติ และแม้แต่ปัญหาส่วนตัว ก็จะแก้ไขได้ง่ายขึ้น
สรุปให้จับหลักได้ ง่ายขึ้นว่า
1.พระปัญญาคุณ สอนว่า เราจะต้องมีปัญญาความรู้ความสามารถที่จะรับผิดชอบตัวเอง ดำเนินชีวิตและกิจการให้สำเร็จ แก้ปัญหาได้ และรู้จักวิเคราะห์เรื่องราวให้จะแจ้งลึกซึ้งถึงความจริง
2.พระ กรุณาคุณ สอนว่า เราจะต้องมีเมตตากรุณาในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น วางใจเป็นมิตร มุ่งหวังประโยชน์สุขแก่เขา และทำประโยชน์แก่สังคม
3.พระ วิสุทธิคุณ สอนว่า ตัวเราเองต้องสะอาด ปราศจากปัญหา ปลอดโปร่งโล่งเบา ทำจิตใจให้เป็นอิสระเบิกบานผ่องใสไร้ทุกข์ได้ด้วยตนเอง และมีความบริสุทธิ์ใจ ตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อสันติสุข มุ่งเพื่อความจริงแท้
ที่ว่านี้คือการนำเอาหลักพุทธคุณ 3 อย่างมาใช้ แค่เอาพระพุทธคุณสามอย่างมาใช้ ก็ดำเนินชีวิตที่ดีอยู่ได้ในสังคม และช่วยสังคมได้ดี จึงปฏิบัติตามหลักพุทธคุณ 3 นี้เป็นพื้นฐาน ต่อจากนั้นก็เอาข้อปฏิบัติอื่นๆ มาเสริม
ฉะนั้น ในฐานะลูกศิษย์พระพุทธเจ้า อย่าละเลยที่จะใช้พุทธคุณสามประการในชีวิตของเรา
เราใช้พุทธคุณใน การสวด ว่าออกมาเป็นคำพูดแล้ว ก็เอามาใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดผลกับชีวิตจริงด้วย เราจึงจะชื่อว่าเข้าถึงพุทธคุณ
ลำพังสวดอย่างเดียวเข้าไม่ถึงหรอก พุทธคุณ เราได้เพียงเอาพุทธคุณนั้นมาเป็นอุบายสำหรับโน้มนำจิตใจเข้าสู่ความสงบ เป็นทางที่จะนำไปสู่การเข้าถึงต่อไป แต่ยังไม่เข้าถึงจริง
แต่เมื่อ ไรเรานำพุทธคุณทั้งสามมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริง เมื่อนั้นคือเราเข้าถึงพุทธคุณอย่างแท้จริง
ฉะนั้น ประการแรก การปฏิบัติตามพุทธคุณสามนี้จะต้องเป็นการดำเนินชีวิตพื้นฐานของพุทธศาสนิกชน
สรุปให้จับหลักได้ ง่ายขึ้นว่า
1.พระปัญญาคุณ สอนว่า เราจะต้องมีปัญญาความรู้ความสามารถที่จะรับผิดชอบตัวเอง ดำเนินชีวิตและกิจการให้สำเร็จ แก้ปัญหาได้ และรู้จักวิเคราะห์เรื่องราวให้จะแจ้งลึกซึ้งถึงความจริง
2.พระ กรุณาคุณ สอนว่า เราจะต้องมีเมตตากรุณาในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น วางใจเป็นมิตร มุ่งหวังประโยชน์สุขแก่เขา และทำประโยชน์แก่สังคม
3.พระ วิสุทธิคุณ สอนว่า ตัวเราเองต้องสะอาด ปราศจากปัญหา ปลอดโปร่งโล่งเบา ทำจิตใจให้เป็นอิสระเบิกบานผ่องใสไร้ทุกข์ได้ด้วยตนเอง และมีความบริสุทธิ์ใจ ตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อสันติสุข มุ่งเพื่อความจริงแท้
ที่ว่านี้คือการนำเอาหลักพุทธคุณ 3 อย่างมาใช้ แค่เอาพระพุทธคุณสามอย่างมาใช้ ก็ดำเนินชีวิตที่ดีอยู่ได้ในสังคม และช่วยสังคมได้ดี จึงปฏิบัติตามหลักพุทธคุณ 3 นี้เป็นพื้นฐาน ต่อจากนั้นก็เอาข้อปฏิบัติอื่นๆ มาเสริม
ฉะนั้น ในฐานะลูกศิษย์พระพุทธเจ้า อย่าละเลยที่จะใช้พุทธคุณสามประการในชีวิตของเรา
เราใช้พุทธคุณใน การสวด ว่าออกมาเป็นคำพูดแล้ว ก็เอามาใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดผลกับชีวิตจริงด้วย เราจึงจะชื่อว่าเข้าถึงพุทธคุณ
ลำพังสวดอย่างเดียวเข้าไม่ถึงหรอก พุทธคุณ เราได้เพียงเอาพุทธคุณนั้นมาเป็นอุบายสำหรับโน้มนำจิตใจเข้าสู่ความสงบ เป็นทางที่จะนำไปสู่การเข้าถึงต่อไป แต่ยังไม่เข้าถึงจริง
แต่เมื่อ ไรเรานำพุทธคุณทั้งสามมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริง เมื่อนั้นคือเราเข้าถึงพุทธคุณอย่างแท้จริง
ฉะนั้น ประการแรก การปฏิบัติตามพุทธคุณสามนี้จะต้องเป็นการดำเนินชีวิตพื้นฐานของพุทธศาสนิกชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)