วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

ตัณหา (จากข่าวสด)

"ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ ตัณหาย่อมยังบุคคลให้เกิดได้" และนอกจากจะทำบุคคลให้เกิดขึ้นมาแล้ว ยังปกคลุมหุ้มห่อมนุษย์โลก ทำให้วุ่นวาย คิดประกอบกรรมทั้งดีและชั่ว

ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ทำชั่วบ้างทำดีบ้าง คนที่มีทุกข์มากมาย ประสบแต่ความเดือดร้อน ก็เพราะตัณหานี้เอง มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ

1. กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากดิ้นรน ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง 6 คือ รูป เสียง เป็นต้น อันเป็นทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม

2. ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อันเป็นเรื่องดีและชั่ว

3. วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เพราะมองเห็นทุกข์โทษ

แต่ถ้าอยากจะทำดี ทำประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ใคร นับได้ว่า เป็นความทะยานอยากในฝ่ายดี ไม่เรียกว่าตัณหา เรียกว่า ฉันทะ เช่นอยากจะทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข พ้นจากความทุกข์ ก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ยกย่องบูชาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น