All of You
~ Julio Iglesias and Diana Ross
I've never had this feeling before
I've never wanted anyone more
And something in your eyes tells me
You feel the way that I do
(I feel like you do)
If you would like to stay here all night
You know that I would say
It's all right
Though I'm saying yes
I confess
I've got more on my mind
'Cause I want more of you
Than your time
All of you, your body and soul
Every kind of love you can express
All the secret dreams you've never told
I want everything
And I'll take nothing less
All of you as long as you live
Everything you've never shared before
I want all of you that you can give
All your joys and all your sorrows
Your todays and your tomorrows
How I long to feel the warmth of your touch
And then if I'm not asking too much
I'd like to spend my life wand'ring through
All the wonders of you
And when we're lying close in the dark
So close I feel each beat of your heart
I want you to reveal what you feel
All you hold deep inside
There is nothing I want you to hide
All of you, your body and soul
Everything you want this love to be
I want all of you
All that you can give
And in return for all your giving
Let me give you all of me
All of you, your body and soul
Every kind of love you can express
All the secret dreams you've never told
I want everything (everything) everything
All of you as long as you live
(As long as you live)
Everything you want this love to be
I want all of you
All that you can give
In return (in return) I wanna give you...
Let me give you
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553
ถนนปลอดสายไฟ หน้าบ้านไร้ถังขยะ khaosod
ถนนปลอดสายไฟ หน้าบ้านไร้ถังขยะ
คอลัมน์ อินไซต์ต่างประเทศ
วิจักขณ์ ชิตรัตน์
หลายคนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ อาจจะสังเกตได้ว่าเมืองใหญ่หลายแห่งสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบเรียบร้อย ตามถนนหนทางจะเห็นแต่เสาไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง หรือที่เรียกว่า Lamp pole เท่านั้น หรือถนนบางสายไม่มีเสาไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำเพราะเขาใช้วิธีโยงสายสะลิงยึดไว้กับ ตัวตึก และมีหลอดไฟให้แสงสว่างแขวนห้อยไว้กลางถนน
ความสบายตาที่เห็นนั้นก็เพราะว่า เขายอมลงทุนเดินสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ ฯลฯ ไว้ใต้ถนนหรือทางเท้านั่นเอง
ใน ต่างประเทศ เขาจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับเป็น junction ขนาดย่อม ซึ่งอันที่จริงก็ตั้งอยู่บนพื้นดิน และอยู่ติดถนนหน้าบ้านนั่นเอง ภาพของสายไฟต่างๆ นับ 100 หรือ 200 เส้นที่เห็นอยู่ในระดับตัวตึกชั้น 3 เช่นที่ชินตาในกรุงเทพฯ นั้น จึงแทบจะไม่มีให้เห็นเลย
อีกเรื่อง หนึ่งที่อดพูดไม่ได้ก็คือ ถังขยะ เมื่อพูดถึงถังขยะ คงไม่มีใครอยากให้ถังขยะอยู่ใกล้บ้านของตนเอง แม้ในหมู่บ้านจัดสรรที่ราคาสูงลิ่ว ก็ไม่วายมีถังขยะวางอยู่หน้าบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านทุกคนต่างก็พยายามวางถังขยะของตนเองไว้ไกลๆ จนสุดเขตรั้วบ้านของตน เพื่อที่เวลามองออกมาจากในบ้านจะได้ไม่เห็นความสกปรกของหน้าบ้านตนเอง แต่ถึงจะไม่เห็นถังขยะของบ้านตนเอง แต่ก็เห็นถังขยะของบ้านอื่นอยู่ดี
ความ เห็นแก่ตัวที่เกิดขึ้นอย่างถ้วนหน้า ก็ทำให้มีความเป็นธรรมในสังคมอยู่เช่นกัน? คือหน้าบ้านของทุกคนหาความสะอาดไม่ได้ ไม่ว่าบ้านนั้นจะเป็นบ้านผู้ดีหรือไม่ก็ตาม
ทรรศนะเช่นนี้ต่างไปจาก บ้านเมืองอื่นที่สะอาดสะอ้าน เพราะทุกคนยอมรับว่า หากบ้านเมืองจะสะอาดตาต้องมีการลงทุนเสมอ และทุกคนยังต้องช่วยกันรักษาความสะอาดกันต่อไปแบบไม่สิ้นสุดด้วย และไม่ใช่แค่หน้าบ้านตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงหน้าบ้านของคนอื่น พื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ฯลฯ ด้วย
แต่บ้านเรามองว่า การลงทุนเรื่องถังขยะ ที่ตั้งถังขยะ การคัดแยกขยะ เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า คนที่เปลืองสมอง เปลืองแรงงานในด้านนี้ก็แค่หัวขยะ ทำงานอื่นดังๆ ไม่เป็น ฯลฯ
แต่ ความจริงแล้ว การคัดแยกขยะที่ปลายทางนั้นแพงแสนแพง เพราะไม่ได้ทำกันในบ้าน หรือโรงงาน แต่ทำกันที่ภูเขาขยะ ไม่ได้ทำโดยคนงานที่ผ่านการฝึกอบรม แต่ทำโดยแรงงานเด็ก คนชรา สตรี ฯลฯ และทำกันโดยรับสารพิษเข้าไปเต็มๆ
แปลว่าบ้านเราขาดทั้งแรงดัน (จากภาคประชาชน) และแรงดึง (จากภาครัฐ)
เมื่อ 10 กว่าวันที่แล้วผมไปอยู่ที่ ไคโร และเจอสิ่งแปลกใจสองอย่าง อย่างแรกคือ ในเชิงกายภาพ ตัวอาคารสกปรกไปทั้งเมืองไป ชาวบ้านทิ้งขยะเกลื่อนเมือง ทุกคนกวาดหน้าบ้านตนเองช่วงเช้า แต่กวาดไปไว้หน้าบ้านคนอื่น ถังขยะมีแค่ใบเล็กๆ และเกลื่อนไปทั่วเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ต่างไปจากบ้านเราเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว แต่ที่แปลกใจคือ บ้านเมืองเขาไม่มีสายไฟนับร้อยนับพันเส้นแบบบ้านเรา มีแค่เสาไฟฟ้า และโคมไฟส่องสว่างเท่านั้น ถือว่านำหน้าเราไปสัก 20 ปี ?
เราอาจจะ ต้องใช้เวลาอีกสัก 20 ปีกว่าที่บ้านเราจะสะอาดตา สะอาดกายไปทั่ว แต่หากเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้ วันแห่งความสำเร็จ ก็จะใกล้เข้ามาเรื่อยๆ
คอลัมน์ อินไซต์ต่างประเทศ
วิจักขณ์ ชิตรัตน์
หลายคนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ อาจจะสังเกตได้ว่าเมืองใหญ่หลายแห่งสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบเรียบร้อย ตามถนนหนทางจะเห็นแต่เสาไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง หรือที่เรียกว่า Lamp pole เท่านั้น หรือถนนบางสายไม่มีเสาไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำเพราะเขาใช้วิธีโยงสายสะลิงยึดไว้กับ ตัวตึก และมีหลอดไฟให้แสงสว่างแขวนห้อยไว้กลางถนน
ความสบายตาที่เห็นนั้นก็เพราะว่า เขายอมลงทุนเดินสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ ฯลฯ ไว้ใต้ถนนหรือทางเท้านั่นเอง
ใน ต่างประเทศ เขาจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับเป็น junction ขนาดย่อม ซึ่งอันที่จริงก็ตั้งอยู่บนพื้นดิน และอยู่ติดถนนหน้าบ้านนั่นเอง ภาพของสายไฟต่างๆ นับ 100 หรือ 200 เส้นที่เห็นอยู่ในระดับตัวตึกชั้น 3 เช่นที่ชินตาในกรุงเทพฯ นั้น จึงแทบจะไม่มีให้เห็นเลย
อีกเรื่อง หนึ่งที่อดพูดไม่ได้ก็คือ ถังขยะ เมื่อพูดถึงถังขยะ คงไม่มีใครอยากให้ถังขยะอยู่ใกล้บ้านของตนเอง แม้ในหมู่บ้านจัดสรรที่ราคาสูงลิ่ว ก็ไม่วายมีถังขยะวางอยู่หน้าบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านทุกคนต่างก็พยายามวางถังขยะของตนเองไว้ไกลๆ จนสุดเขตรั้วบ้านของตน เพื่อที่เวลามองออกมาจากในบ้านจะได้ไม่เห็นความสกปรกของหน้าบ้านตนเอง แต่ถึงจะไม่เห็นถังขยะของบ้านตนเอง แต่ก็เห็นถังขยะของบ้านอื่นอยู่ดี
ความ เห็นแก่ตัวที่เกิดขึ้นอย่างถ้วนหน้า ก็ทำให้มีความเป็นธรรมในสังคมอยู่เช่นกัน? คือหน้าบ้านของทุกคนหาความสะอาดไม่ได้ ไม่ว่าบ้านนั้นจะเป็นบ้านผู้ดีหรือไม่ก็ตาม
ทรรศนะเช่นนี้ต่างไปจาก บ้านเมืองอื่นที่สะอาดสะอ้าน เพราะทุกคนยอมรับว่า หากบ้านเมืองจะสะอาดตาต้องมีการลงทุนเสมอ และทุกคนยังต้องช่วยกันรักษาความสะอาดกันต่อไปแบบไม่สิ้นสุดด้วย และไม่ใช่แค่หน้าบ้านตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงหน้าบ้านของคนอื่น พื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ฯลฯ ด้วย
แต่บ้านเรามองว่า การลงทุนเรื่องถังขยะ ที่ตั้งถังขยะ การคัดแยกขยะ เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า คนที่เปลืองสมอง เปลืองแรงงานในด้านนี้ก็แค่หัวขยะ ทำงานอื่นดังๆ ไม่เป็น ฯลฯ
แต่ ความจริงแล้ว การคัดแยกขยะที่ปลายทางนั้นแพงแสนแพง เพราะไม่ได้ทำกันในบ้าน หรือโรงงาน แต่ทำกันที่ภูเขาขยะ ไม่ได้ทำโดยคนงานที่ผ่านการฝึกอบรม แต่ทำโดยแรงงานเด็ก คนชรา สตรี ฯลฯ และทำกันโดยรับสารพิษเข้าไปเต็มๆ
แปลว่าบ้านเราขาดทั้งแรงดัน (จากภาคประชาชน) และแรงดึง (จากภาครัฐ)
เมื่อ 10 กว่าวันที่แล้วผมไปอยู่ที่ ไคโร และเจอสิ่งแปลกใจสองอย่าง อย่างแรกคือ ในเชิงกายภาพ ตัวอาคารสกปรกไปทั้งเมืองไป ชาวบ้านทิ้งขยะเกลื่อนเมือง ทุกคนกวาดหน้าบ้านตนเองช่วงเช้า แต่กวาดไปไว้หน้าบ้านคนอื่น ถังขยะมีแค่ใบเล็กๆ และเกลื่อนไปทั่วเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ต่างไปจากบ้านเราเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว แต่ที่แปลกใจคือ บ้านเมืองเขาไม่มีสายไฟนับร้อยนับพันเส้นแบบบ้านเรา มีแค่เสาไฟฟ้า และโคมไฟส่องสว่างเท่านั้น ถือว่านำหน้าเราไปสัก 20 ปี ?
เราอาจจะ ต้องใช้เวลาอีกสัก 20 ปีกว่าที่บ้านเราจะสะอาดตา สะอาดกายไปทั่ว แต่หากเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้ วันแห่งความสำเร็จ ก็จะใกล้เข้ามาเรื่อยๆ
วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553
คุณของพระสงฆ์ จากข่าวสด
คุณของพระสงฆ์
คอลัมน์ ศาลาวัด
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้กระทำตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สุขตามสมควรแก่การปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นยั่งยืนนานมาตราบได้เท่าทุกวันนี้
เมื่อจำแนกตามบทสังฆานุสติ คือ บทสวดระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี 9 ประการ คือ
1.สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระศาสดา ไม่ปฏิบัติเป็นปรปักษ์ขัดต่อคำสอนของพระศาสดา
2.อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติจริงๆ ไม่ปฏิบัติลวงโลก ประพฤติปฏิบัติตรงๆ ต่อพระศาสดาและเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน
3.ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติในทางอันจะให้เกิดความรู้ ปฏิบัติเพื่อธรรมที่ควรรู้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติ เพื่อได้ความรู้ธรรม
4.สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติน่านับถือ อันสมควรได้รับสามีจิกรรม คือ การแสดงความนอบน้อมเคารพนับถือเป็นต้น จากเหล่าคนทุกจำพวก
5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรของคำนับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับวัตถุที่เขานำมาบูชาที่เรียกว่า อาหุนะ (เครื่องสักการบูชา)
6.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของต้อนรับที่เรียกว่า ปาหุนะ (ของต้อนรับแขก) ที่เขาจัดไว้อย่างดี
7.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรของทำบุญ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของทำบุญที่เรียกว่า ทักขิรา (หรือทักษิณา หมายถึงเครื่องไทยธรรม) มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
8.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรทำอัญชลี หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเมื่อผู้ใดผู้หนึ่งนำเครื่องสักการะไปถวายถึงที่อยู่ ก็สามารถทำความเลื่อมใสให้เกิดได้ โดยที่ผู้นั้นไม่ต้องมาเสียใจในภายหลังว่าไม่สมควรคำนับกราบไหว้
และเมื่อท่านมาถึงถิ่นที่อาศัยของผู้ใด ก็เป็นแขกที่น่าต้อนรับด้วยความยินดีของผู้นั้น เพราะเป็นผู้มาดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งยกมือขึ้นไหว้ท่าน ท่านก็มีความยินดีพร้อมที่ทุกคนพอจะไหว้ได้โดยไม่ต้องกระดากอาย
9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญที่ยอดเยี่ยมของชาวโลก หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์เพราะปฏิบัติดี ทักษิณาทานที่บริจาคแด่พระสงฆ์จึงมีผลานิสงส์มาก เปรียบเหมือนแหล่งที่นา ซึ่งมีดินดีและไถแล้ว พืชที่หว่านหรือที่ปลูกลงไป ย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็นนาบุญ ที่บำเพ็ญบุญอย่างยอดเยี่ยมดียิ่งของประชาชนชาวโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
คอลัมน์ ศาลาวัด
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้กระทำตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สุขตามสมควรแก่การปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นยั่งยืนนานมาตราบได้เท่าทุกวันนี้
เมื่อจำแนกตามบทสังฆานุสติ คือ บทสวดระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี 9 ประการ คือ
1.สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระศาสดา ไม่ปฏิบัติเป็นปรปักษ์ขัดต่อคำสอนของพระศาสดา
2.อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติจริงๆ ไม่ปฏิบัติลวงโลก ประพฤติปฏิบัติตรงๆ ต่อพระศาสดาและเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน
3.ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติในทางอันจะให้เกิดความรู้ ปฏิบัติเพื่อธรรมที่ควรรู้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติ เพื่อได้ความรู้ธรรม
4.สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติน่านับถือ อันสมควรได้รับสามีจิกรรม คือ การแสดงความนอบน้อมเคารพนับถือเป็นต้น จากเหล่าคนทุกจำพวก
5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรของคำนับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับวัตถุที่เขานำมาบูชาที่เรียกว่า อาหุนะ (เครื่องสักการบูชา)
6.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของต้อนรับที่เรียกว่า ปาหุนะ (ของต้อนรับแขก) ที่เขาจัดไว้อย่างดี
7.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรของทำบุญ หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ควรรับของทำบุญที่เรียกว่า ทักขิรา (หรือทักษิณา หมายถึงเครื่องไทยธรรม) มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
8.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรทำอัญชลี หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเมื่อผู้ใดผู้หนึ่งนำเครื่องสักการะไปถวายถึงที่อยู่ ก็สามารถทำความเลื่อมใสให้เกิดได้ โดยที่ผู้นั้นไม่ต้องมาเสียใจในภายหลังว่าไม่สมควรคำนับกราบไหว้
และเมื่อท่านมาถึงถิ่นที่อาศัยของผู้ใด ก็เป็นแขกที่น่าต้อนรับด้วยความยินดีของผู้นั้น เพราะเป็นผู้มาดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งยกมือขึ้นไหว้ท่าน ท่านก็มีความยินดีพร้อมที่ทุกคนพอจะไหว้ได้โดยไม่ต้องกระดากอาย
9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญที่ยอดเยี่ยมของชาวโลก หมายถึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์เพราะปฏิบัติดี ทักษิณาทานที่บริจาคแด่พระสงฆ์จึงมีผลานิสงส์มาก เปรียบเหมือนแหล่งที่นา ซึ่งมีดินดีและไถแล้ว พืชที่หว่านหรือที่ปลูกลงไป ย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็นนาบุญ ที่บำเพ็ญบุญอย่างยอดเยี่ยมดียิ่งของประชาชนชาวโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
สมบัติ จากข่าวสด
สมบัติ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com
สมบัติ คือ ความสมบูรณ์แห่งผลสำเร็จที่ให้ได้สมความปรารถนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์สมบัติ
2. สวรรค์สมบัติ
3. นิพพานสมบัติ
ประการที่ 1 มนุษย์สมบัติ ได้แก่ การมีทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ การยกย่องและความสุขกายสบายใจ คนผู้ที่จะได้มนุษย์สมบัตินี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ หมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต ในการศึกษาเล่าเรียน ในธุระหน้าที่การงานของตนเอง 2. ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความหมั่น พยายามไม่ให้เป็นอันตราย อีกทั้งรักษาการงานที่ได้ทำไว้ไม่ให้เสื่อมเสียไป 3. ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ การรู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน เลือกคบหา เสวนากับคนที่สามารถแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ 4. ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร คือ รู้จักเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคือง ไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
มีเรื่องเล่าในอดีตเป็นตัวอย่างว่า คนรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ทำการค้าขายครั้งแรกด้วยการลงทุนด้วยหนูตายเพียงตัวเดียว ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย คือ ครั้งแรก เขาขายหนูตายนั้นแล้วได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จึงนำเงินนั้นไปซื้อดอกไม้มาขาย นำกำไรที่ขายดอกไม้ได้ไปซื้อไม้แล้วนำไปขายให้กับคนเผาภาชนะดิน นำผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอีก ไปซื้อหญ้าแล้วนำไปขายให้คนเลี้ยงม้า ได้เงินมาแล้วก็นำไปเก็บรักษาไว้ ต่อมาได้ทำการค้าขายทางเรือกับพวกพ่อค้า ได้เงินทองมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาระลึกถึงเศรษฐีที่เคยมีอุปการะแก่ตนมาก่อน ด้วยความกตัญญู จึงนำทรัพย์สินเงินทองครึ่งหนึ่งที่ตนหามาได้มอบให้แก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีคิดว่า คนที่ฉลาด ขยันหมั่นเพียรเช่นนี้ ไม่สมควรที่จะเป็นคนรับใช้ของเรา จึงได้ยกธิดาคนหนึ่งให้และมอบเงินทองให้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว เขาก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐีต่อไป
ประการ ที่ 2 สวรรค์สมบัติ ได้แก่ สมบัติในสวรรค์ หรือทิพยสมบัติ คือ สมบัติที่มีความสุขกายสบายใจ อันละเอียด ประณีต วิจิตรตระการตากว่ามนุษย์สมบัติมากมาย ซึ่งผู้ที่จะประสบสวรรค์สมบัติได้นั้น จะต้องประกอบด้วยความไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2. ถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
3. ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน คือ การเสียสละแบ่งปัน
4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักความดี ความชั่ว เป็นต้น
มีเรื่องเล่าเป็นอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งว่า อุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่านันทิยะ เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ได้ให้ทาน รักษาศีล และทำอุโบสถกรรมเป็นประจำ ต่อมาได้สร้างศาลาจัตุรมุขขึ้นหลังหนึ่ง ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่สุดแห่งการทำอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า วิมานจัตุรมุขก็ได้ผุดขึ้นในเทวโลกเพื่อต้อนรับอุบาสกนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้ไปเยี่ยมเทวโลก เห็นวิมานนั้นว่างเปล่า ไม่มีเทพบุตรหรือเทพธิดาประจำอยู่ จึงไต่ถามกับเทพบุตรในวิมานใกล้เคียงก็ทราบว่า เป็นวิมานที่ผุดขึ้นเพื่อต้อนรับนันทิยอุบาสก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ พระมหาโมคคัลลานะจึงนำข่าวมาแจ้งแก่นันทิยอุบาสก เมื่อเขาได้ฟังแล้วก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างมาก ได้สละทรัพย์บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในวิมานนั้น
ประการที่ 3 นิพพานสมบัติ ได้แก่ สมบัติคือพระนิพพาน คือการดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง คนผู้ถึงพระนิพพาน ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งไปกว่า สมตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ซึ่งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพานนั้น ก็ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ
1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญจิตตภาวนา
ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาสมบัติ คือ ความถึงพร้อมทั้ง 3 ประการนี้ ควรที่ปฏิบัติตน ประพฤติตามหลักธรรมดังที่กล่าวมา อันจักทำให้ได้รับสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง สมตามความปรารถนาแล
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com
สมบัติ คือ ความสมบูรณ์แห่งผลสำเร็จที่ให้ได้สมความปรารถนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์สมบัติ
2. สวรรค์สมบัติ
3. นิพพานสมบัติ
ประการที่ 1 มนุษย์สมบัติ ได้แก่ การมีทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ การยกย่องและความสุขกายสบายใจ คนผู้ที่จะได้มนุษย์สมบัตินี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ หมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต ในการศึกษาเล่าเรียน ในธุระหน้าที่การงานของตนเอง 2. ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความหมั่น พยายามไม่ให้เป็นอันตราย อีกทั้งรักษาการงานที่ได้ทำไว้ไม่ให้เสื่อมเสียไป 3. ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ การรู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน เลือกคบหา เสวนากับคนที่สามารถแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ 4. ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร คือ รู้จักเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคือง ไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
มีเรื่องเล่าในอดีตเป็นตัวอย่างว่า คนรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ทำการค้าขายครั้งแรกด้วยการลงทุนด้วยหนูตายเพียงตัวเดียว ได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย คือ ครั้งแรก เขาขายหนูตายนั้นแล้วได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จึงนำเงินนั้นไปซื้อดอกไม้มาขาย นำกำไรที่ขายดอกไม้ได้ไปซื้อไม้แล้วนำไปขายให้กับคนเผาภาชนะดิน นำผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอีก ไปซื้อหญ้าแล้วนำไปขายให้คนเลี้ยงม้า ได้เงินมาแล้วก็นำไปเก็บรักษาไว้ ต่อมาได้ทำการค้าขายทางเรือกับพวกพ่อค้า ได้เงินทองมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาระลึกถึงเศรษฐีที่เคยมีอุปการะแก่ตนมาก่อน ด้วยความกตัญญู จึงนำทรัพย์สินเงินทองครึ่งหนึ่งที่ตนหามาได้มอบให้แก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีคิดว่า คนที่ฉลาด ขยันหมั่นเพียรเช่นนี้ ไม่สมควรที่จะเป็นคนรับใช้ของเรา จึงได้ยกธิดาคนหนึ่งให้และมอบเงินทองให้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว เขาก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐีต่อไป
ประการ ที่ 2 สวรรค์สมบัติ ได้แก่ สมบัติในสวรรค์ หรือทิพยสมบัติ คือ สมบัติที่มีความสุขกายสบายใจ อันละเอียด ประณีต วิจิตรตระการตากว่ามนุษย์สมบัติมากมาย ซึ่งผู้ที่จะประสบสวรรค์สมบัติได้นั้น จะต้องประกอบด้วยความไม่ประมาทในคุณธรรม 4 ประการ คือ
1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2. ถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
3. ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน คือ การเสียสละแบ่งปัน
4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักความดี ความชั่ว เป็นต้น
มีเรื่องเล่าเป็นอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งว่า อุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่านันทิยะ เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ได้ให้ทาน รักษาศีล และทำอุโบสถกรรมเป็นประจำ ต่อมาได้สร้างศาลาจัตุรมุขขึ้นหลังหนึ่ง ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่สุดแห่งการทำอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า วิมานจัตุรมุขก็ได้ผุดขึ้นในเทวโลกเพื่อต้อนรับอุบาสกนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้ไปเยี่ยมเทวโลก เห็นวิมานนั้นว่างเปล่า ไม่มีเทพบุตรหรือเทพธิดาประจำอยู่ จึงไต่ถามกับเทพบุตรในวิมานใกล้เคียงก็ทราบว่า เป็นวิมานที่ผุดขึ้นเพื่อต้อนรับนันทิยอุบาสก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ พระมหาโมคคัลลานะจึงนำข่าวมาแจ้งแก่นันทิยอุบาสก เมื่อเขาได้ฟังแล้วก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างมาก ได้สละทรัพย์บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในวิมานนั้น
ประการที่ 3 นิพพานสมบัติ ได้แก่ สมบัติคือพระนิพพาน คือการดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง คนผู้ถึงพระนิพพาน ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งไปกว่า สมตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ซึ่งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพานนั้น ก็ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ
1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญจิตตภาวนา
ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาสมบัติ คือ ความถึงพร้อมทั้ง 3 ประการนี้ ควรที่ปฏิบัติตน ประพฤติตามหลักธรรมดังที่กล่าวมา อันจักทำให้ได้รับสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง สมตามความปรารถนาแล
วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553
หลักธรรมนำชีวิต (ข่าวสด)
หลัก ธรรมนำชีวิต
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/ watdevaraj@hotmail.com
ใน ปัจจุบันนี้ คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นน้อมนำเอาหลักธรรมหมวดไหน หรือข้อไหนมาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ซึ่งหลักธรรมที่หลายท่านได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตนั้น ก็มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงธรรมะที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติกันแล้ว สามารถอำนวยความสุข หรือประโยชน์สุขให้ได้ในปัจจุบัน
ประโยชน์หรือความสุขในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้ประพฤติตาม ธรรมะ 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา
2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา
4. สมชีวิตา
ข้อ 1 อุฏฐานสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจ มีความรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักคิดใช้ปัญญา สอดส่องพิจารณาการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ไม่ว่าการงานนั้นๆ จะมากหรือน้อย ก็สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
ข้อ 2 อารักขสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ มีโภคทรัพย์และผลงาน ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยกำลังงานของตน และด้วยความชอบธรรม หามาได้โดยธรรม ก็ต้องรู้จักดูแล รักษา และคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล มิให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย เสื่อมหายไป
ข้อ 3 กัลยาณมิตตตา ได้แก่ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดคนในถิ่นที่อาศัย คือ อยู่อาศัยในบ้านหรือถิ่นหนตำบลใด ย่อมดำรงตน เลือกสนทนากับบุคคลในบ้านหรือถิ่นหนตำบลนั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ข้อ 4 สมชีวิตา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายรับ รายจ่าย แล้วเลี้ยงชีวิตอย่างพอเหมาะ เมื่อมีทรัพย์ก็ไม่ใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือไม่ให้ประหยัดเกินไปนัก
การที่คนเราพยายามแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียร และรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยความสุจริตนั้น จำต้องใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ให้มีความสุข บำรุงเพื่อนสนิทมิตรสหายให้มีความสุข เสียสละแบ่งปันด้วยการสงเคราะห์ญาติ หรือทำบุญให้ทานตามโอกาส
ดังนั้น ผู้ที่นำเอาหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้ มาเป็นเครื่องนำในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถที่จะอำนวยประโยชน์สุขในปัจจุบันให้เกิดขึ้นได้
ใคร ที่อยากจะให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ก็ต้องรู้จักขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ดีนักแล
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/ watdevaraj@hotmail.com
ใน ปัจจุบันนี้ คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นน้อมนำเอาหลักธรรมหมวดไหน หรือข้อไหนมาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ซึ่งหลักธรรมที่หลายท่านได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตนั้น ก็มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงธรรมะที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติกันแล้ว สามารถอำนวยความสุข หรือประโยชน์สุขให้ได้ในปัจจุบัน
ประโยชน์หรือความสุขในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้ประพฤติตาม ธรรมะ 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา
2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา
4. สมชีวิตา
ข้อ 1 อุฏฐานสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจ มีความรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักคิดใช้ปัญญา สอดส่องพิจารณาการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ไม่ว่าการงานนั้นๆ จะมากหรือน้อย ก็สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
ข้อ 2 อารักขสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ มีโภคทรัพย์และผลงาน ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยกำลังงานของตน และด้วยความชอบธรรม หามาได้โดยธรรม ก็ต้องรู้จักดูแล รักษา และคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล มิให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย เสื่อมหายไป
ข้อ 3 กัลยาณมิตตตา ได้แก่ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดคนในถิ่นที่อาศัย คือ อยู่อาศัยในบ้านหรือถิ่นหนตำบลใด ย่อมดำรงตน เลือกสนทนากับบุคคลในบ้านหรือถิ่นหนตำบลนั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ข้อ 4 สมชีวิตา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายรับ รายจ่าย แล้วเลี้ยงชีวิตอย่างพอเหมาะ เมื่อมีทรัพย์ก็ไม่ใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือไม่ให้ประหยัดเกินไปนัก
การที่คนเราพยายามแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียร และรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยความสุจริตนั้น จำต้องใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ให้มีความสุข บำรุงเพื่อนสนิทมิตรสหายให้มีความสุข เสียสละแบ่งปันด้วยการสงเคราะห์ญาติ หรือทำบุญให้ทานตามโอกาส
ดังนั้น ผู้ที่นำเอาหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้ มาเป็นเครื่องนำในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถที่จะอำนวยประโยชน์สุขในปัจจุบันให้เกิดขึ้นได้
ใคร ที่อยากจะให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ก็ต้องรู้จักขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ดีนักแล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)